4.19.2554

มารยาทในการนวด

การทำสปานั้นการนวดหรือถุกเนื้อต้องตัว ลูกค้าเป็นเรื่องปกติ ผู้นวดต้องรู้เรื่องมารยาทในการนวด

ก่อนทำการนวด ผู้นวดควรสำรวมจิตใจให้เป็นสมาธิ สำหรับการนวดแบบราชสำมักจะมีการยกมือไหว้ผู้ถูกนวด เพื่อเป็นการขอขมาที่ล่วงเกินบนร่างกาย

ขณะนวด ควรนั่งห่างจากผู้นวดพอสมควร ในด้านที่จะทำการนวด ไม่ควรคร่อมตัวผู้ถูกนวด สำหรับการนวดแบบราชสำนัก จะเดินเข่าเข้าหาผู้ถูกนวดอย่างน้อย 4 ศอก และนั่งห่างจากผู้ถูกนวด ประมาณ 1 ศอก และจับชีพจรอย่าหายใจรดผู้ถูกนวด สำหรับการนวดแบบราชสำนัก ได้มีคำกล่าวไว้ว่าแม้ลมหายใจ ไม่ให้รดพระวรกายขณะทาการนวด จึงมักจะหันหน้าตรงไปข้างหน้า โดยไม่ก้มหน้า และไม่เงยหน้ามองฟ้า อันเป็นการแสดงความไม่เคารพ ขณะทำการนวด ห้ามทานอาหารหรือเครื่องดื่ม และระมัดระวังคำพูดทีอาจทำให้ผู้ถูกนวดตกใจ สะเทือนใจ สังเกตอาการผู้ถูกนวดอยู่เสมอ ควรหยุดเมื่อผู้ถูกนวดขอให้พัก หรือเจ็บปวดจนทนไม่ไหวเมื่อผู้นวดไม่สบาย มข้ เจ็บป่วย ไม่ควรรับนวด และหากการนวดเพื่อ บำบัดนั้นเกินความสามารถของตนเอง ควรส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ

ข้อควรระวังในการนวด-ในกรณีที่นวดท้อง ไม่ควรนวดผู้ทีรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ (ไม่เกิน 30 นาที)
-ไม่นวดอย่างรุนแรงหรือนานเกินไป เพราะอาจเกิดการอักเสบ ฟกชา
มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ เช่น หน้าหู ใกล้กระดูกไหปลาร้า รักแร้ เป็นต้น
-กรณีผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสง ต้องระมัดระวังในการนวด ในกรณีเป็นความดันโลหิตสูงและ
เส้นเลือดแดงที่ท้องเป็นกระเปาะ ไม่ควรกดท้อง เพราะเส่ยงต่อการทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ท้องปริแตกจนมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้
-ไม่ควรนวดผู้ที่มีอาการอักเสบดิดเชื้อ คือ มีไข้มากกว่า 37 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน
-ไม่ควรนวดผู้ที่เพิงประสบอุบัติเหตุใหม่ ๆ ควรได้รับการช่วยเหลือ
ข้างต้น และตรวจวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากเกินความสามารถควรประสานความร่วมมือกับแพทย์แผนปัจจุบัน
-หากมีการดัดหรือดึงร่วมด้วยจะต้องระวังมาก การดัดหรือดึงที่คออาจ
ทำให้กระดูกคอทับเส้นประสาทได้ การดัดหลังอย่างรุนแรงอาจทำให้
มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งหากมีเส้นประสาทอยู่ใกล้จะได้รับอันตรายไปด้วย
-การเปิดปิดประตูลมไม่ควรกดนานกว่า 45 วินาที และอย่าใช้แรงกดมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดเลือดช้ำอักเสบ รวมทั้งเส้นประสาท
ขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป ทำให้เกิดอาการชา

**ข้อบ่งชี้ในการนวคแผนไทย
-การบวมที่ไม่ได้เกิดจากการอักเสบ แต่เป็นเพราะการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองไม่ดี
-อัมพาต เช่น ตาหลับไม่ลง ยักคิ้วไม่ได้ ปากเบี้ยว ขากรรไกรค้าง คางห้อยลง อ้าปากไม่ขึ้น เป็นต้น
-หูอื้อ ลมออกหู มีเสียงดังในหู
-นวดเพื่อให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะดีขึ้น
-กระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น คอดกหมอน คอเอียงในเด็กเล็ก หัวไหล่ติดหัวไหล่เคลื่อน ข้อศอกเคลื่อน ข้อมือเคลื่อน ข้อผิดเพราะไม่ได้ใช้งานมือตก นิ้วมือซ้น กระดูกสันหลังคด แอ่นหรือหลังงอ หลังค่อม ลูกสะบ้าเคลื่อน ข้อเท้าแพลง กล้ามเนื้ออักเสบจากการกีฬา เป็นต้น
-ดานเลือด: มีเลือดคั่งค้างในโพรงมดลูก
-ดานลม: ท้องผูก อุจจาระแข็ง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปลายมือปลายเท้า ชา
-มดลูกเคลื่อน มดลูกตะแคง มดลูกต่ำ คือ มดลูกเคลื่อนตัวไปทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย มดลูกลอย คือ มดลูกเคลื่อน
ตัวสูงขึ้น ลักษณะคือ ผายลมทางช่องคลอด

**ข้อห้ามในการนวค
ในกรณีที่มีอาการเหล่านี้ ห้ามทำการนวด
-โรคติดเชื้อ มข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
-โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณอื่น และแพร่มาHูผู้นวด ด้วย
-ขณะมีอาการอักเสบ เพราะจะทำให้การอักเสบมากขึ้น
-บริเวณที่มีบาดแผลห้ามนวด อาจทำให้แผลช้ำ หรือแผลปริแยก
-บริเวณที่เป็นมะเร็ง จะทำให้มะเร็งแพร่ออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น