11.05.2553

ธุรกิจสปา

spa

เข้าใจธุรกิจสปาสักนิด ธุรกิจสปานั้น เป็นงานบริการที่ชับซ้อน หลากหลาย และละเอียดอ่อน ในการให้บริการในสปา ไม่เพียงแต่ว่าจะต้องมีสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยัง จะต้องสามารถเข้าถึงหรือสร้างการยอมแก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อ อย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ด้วย ดังนั้นการตลาดบริการ (Service Marketing) จึงสิ่งที่มี ความท้าทาย และมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกิจการเป็น อย่างมาก เราจึงจำเป็นที่จะต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมาเป็นเครื่องมือในการ สร้างความได้เปรียบและความสำเร็จในการแข่งขัน แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ประเภท “บริการ” นั้นแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้า อย่างไรบ้าง โดยทั่วๆไปความแตกต่าง 5 ประการมีดังนี้

1.บริการไม่สามารถจับต้องได้( Intangible )
บริการไม่สามารถมองเห็นได้หรือรู้สึกได้ก่อนซื้อ ลูกค้าจะรับรู้บริการได้ก็ต่อเมื่อมีการทดลองใช้

2.บริการไมสามารถแบ่งแยกได้ (Inseparable)
เพราะการบริการมีข้อจำกัดในเรื่องของปัจจัยในการให้บริการ คือ บุคคลและเวลา จึงทำให้ สามารถบริหารได้เพียงครั้งละราย ในขณะที่สินค้าสามารถผลิตได้ จำนวนมาก และสามารถแบ่งย่อยขายให้ผู้บริการได้พร้อมกันหลายๆ รายได้

3.บริการมีความไม่แน่นอน (variable)
การให้บริการเป็นศิลปะที่ไม่สามารถควบคุมให้เหมือนกันเป็ะๆได้ ในการนวดแต่ครั้ง แม้จะเป็น Therapist คนเดียวกัน ขั้นตอนเดียวกัน แต่ผลลัพธ์หรือบรรยากาศที่ได้จากการบริการก็อาจไม่เหมือนกันทุกครั้ง ในขณะที่สินค้าสามารถผลิตออกมาจำนวนมากๆ เหมือน กันได้

4.บริการจัดทำมาตรฐานได้ยาก (Heterogeneous)
ปัจจัยหลักของการบริการคือ คน การสร้างมาตรฐานในการจัดการคน นั้นเป็นเรื่องยากและ น่าปวดหัวมากๆ

5.บริการไม่สามารถเก็บไว้ได้ ((Non-perishable)
เราสามารถสต็อกสินค้าตามควานต้องการแต่ละช่วงที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แต่สำหรับ บริการนั้นไม่สามารถทำได้ ที่นั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องใช้เทคนิค การบริหารช่วงเวลาเข้ามาช่วย เพื่อกระจายความต้องการในการใช้บริการ แทนที่จะเตรียมบริการเผื่อ เพราะเราสามารถจ้างพนักงานชั่วคราวเพิ่มได้
แต่เพียงกับห้องนี่สิ จะทำอย่างไร

คุณสมบัติหลักของการบริการในเบื้องต้นนั้น คือ บริการต้องสามารถตอบสนอง
ความต้องการพื้นฐานของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใด้ก่อน เช่น การบริการด้านสปา
ความต้องการพื้นฐานคือการได้รับสุนทรียภาพและการผ่อนคลายผ่านทางสัมผัสทั้งห้า
หรือ บริการนวดแผนไทย ความต้องการพื้นฐานคือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้หาย
ปวดเมื่อย สบายตัว เป็นต้น การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าจะต้องบริการให้
ตรงกับความต้องการของลูกค้า แต่ในการบริการที่มีการแข่งขันสูง และมีความ
สามารถในการให้บริการได้ใกล้เคียงกัน ลูกค้าจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง จึงจำเป็น
ที่จะต้องสร้างความแตกต่างให้แก่ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น สปาแต่ละที่ จะมีบริการ
หลักเหมือนๆ หรือใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะ Day Spa ซึ่งเน้นเรื่องการผ่อนคลายและ
ความสวยงามมากกว่าการบำบัด ความแตกต่างระหว่างบริการในแต่ละที่ไม่ได้
ชัดเจนมาก ถ้าไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในการบริการ ลูกค้าก็จะรู้สึก
ว่าใช้ของที่ไหนก็ได้ และมักจะเลือกใช้บริการที่มีราคาต่ำกว่า หรือสะดวกต่อการ
เดินทางมากกว่า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีบริการเสริมที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับบริการหลัก
ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า บริการก่อนและหลังการรับบริการ เช่น มุมพักผ่อน การ
ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผ่านทาง เว็บไซต์ หรือ Direct Mail มีสิ่งอำนวยความ
สะดวกในสปา เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อาหารและเครื่องดื่ม การบริการของ
พนักงาน ที่นอกจากจะให้บริการด้านสปาแล้ว ยังให้การอำนวยความสะดวกในด้าน
ต่างๆ เช่น การเตรียมห้องน้ำที่สะอาดสำหรับลูกค้าการจัดพนักงานถือร่มส่งที่จอด
รถเวลาฝนตก ฯลฯ
เหล่านี้จะเป็นการสร้างให้ลูกค้าเห็นความแตกต่าง และจะช่วยสร้างความประทับใจและพึงพอใจให้แก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น อย่าลืมว่าหัวใจสำคัญของการบริการนั้นคือ การที่เราจะต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกค้าว่ามีพฤติกรรมทั้งที่เป็นบวกและลบและมีความต้องการไม่มีที่สุด การบริการจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่ลุด ในขณะเดียวกันต้องสร้างความแปลกใหม่ในการบริการ เพื่อให้เกิดจุดขายที่ลูกค้าประทับใจและเป็นการดึงดูด ลูกค้าต่อไป จะเห็นได้ว่าการบริการเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ ไม่สามารถมอง เห็นด้วยตาเปล่า ลูกค้าจะเลือกใช้บริการที่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และความรู้สึกคาดหวังจะได้ หากสามารถบริหารได้ตรงตามความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นได้ จึงจะถือได้ว่าการบริการของเรานั้นประสบ ความ สำเร็จ

10.08.2553

ตัวอย่างรูปแบบร้านสปา

ร้านสปา “Colour Therapy”
ตัวอย่างรูปแบบร้านสปาที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นมามากมาย ทั้งประเภท และลักษณะการออกแบบ
ถึงแม้ Colour Therapy จะมีรูปแบบบริการทีคล้ายคลึงกับ"สปา"ทั่วไป แต่เนื่องจากต้องการทำโห้
เป้าแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงตกแต่งสถานทีเพีอสร้างบรรยากาศภายโนสปาโห้เกิดความแปลกโหม่ในสไตล์คอนเทมโพรารีผสมผสานกับวินเทจ และใช้สีสันต่างๆตกแต่งตามหลักการบำบัดด้วยสี (colour therapy)
ผลิตภัณฑ์สปา
ผลิตภัณฆ์
ผลิตภัณฆ์ที่ใช้ล้วนเป็นส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ สำหรับน้ำมันหอมระเหยที่ใช้นวดฝ่าเท้าและนวดตัว ได้เลือกให้มีความสอดคล้องกับบรรยากาศในการตกแต่งห้องนั้นๆ เช่น
ห้องโรแมนติกก็จะใช้น้ำมันหอมระเหยที่ให้ความอ่อนละมุน

ลักษณะการออกแบบ
เป็นสปาขนาดเล็กตกแต่งในสไตล์คอนเทมโพรารี โดยใช้สีสันสดใส ตกแต่งบรรยากาศแต่ละห้องให้เกิดสัมผัสที่แตกต่างกัน พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือบริเวณด้านหน้าทางเข้าขึงจัดเป็นส่วนต้อนรับและพื้นที่ด้านในทีแบ่งเป็นห้องนวดเท้า ห้องนวด
4 สไตล์ อันได้แก่ ห้องเซน (zen) ซึ่งตกแต่งในโทนสีน้ำตาล ดูเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสงบ ห้อง
เอเลแกนซ์ (EIegance) ตกแต่งในโทนสีฟ้าอมเทาให้ความรู้สึกหรูหรา ห้องโรแมนติก (Romantic)
ตกแต่งในโทนสีชมพู แลดูอ่อนหวานแบบผู้หญิงและห้องรีเฟรซชิง (Refreshing) ตกแต่งในโทนสีเขียวให้ความรู้สึกสดชื่น สร้างความกระปรี้กระเปร่า ซึ่งแต่ละห้องก็จะมีบรรยากาศที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับโทนสีและองค์ประกอบในการตกแต่ง ทั้งนี้
ลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถเลือกห้องเพื่อรับการบำบัดได้ตามความพอโจ

spa
1. บริเวณต้อนรับประกอบด้วยเคาน์เตอร์สีขาวยาว กรุด้วยกระเบื้องโมเสก สะดุดตา
กับผนังสีบานเย็นด้านในสุด จึงเป็นมุมรับแขกที่จัดวางเฟอร์นิเจอร์สไตล์คลาสิก
ผสมผสานกับการตกแตงที่เน้นการใช้สีสันสดใสสมกับชี่อร้าน คือ Colour Therapy

2. ทางเดินภายในสปาตกแต่งด้วยโทนสีขาวครีมแลดูสะอาดตา ช่วยขับใหัโคมไฟ
คริสตัลดูโดดเด่นสะดุดตายิ่งขึ้น.
spa

3. ใช้ม่านลูกปัดและผ้าี้ ม่านสีครีมบังสายตาแทนการใชัประตูกั้นระหว่างห้องผลัด
เปลื่ยนเสื้ัอผัาเครื่องแตงกายกับห้องนวดฝ่าเท้า


spa
4. หัองนวดฝ่าเท้าเลือกใช้เก้าอี้นั่งของ Lazy Boy
จึงสามารถปรับเอนไดัอย่างสบายผสมผสานกับการตกแต่งด้วยโทนสีขาว
และเทา แลดูสบายตา ให้ความรู้สึกอบอุ่นเสมือนนวดอยู่ในห้องรับแขกของบ้านสไตล์
อเมริกัน
รายละเอียดภายในร้านสปา
1. เนื่องจากส่วนต้อนรับมีขนาดค่อนข้างแคบจึงออกแบบผนังฝังตรงข้ามกับเคาน์เตอร์
ต้อนรับโดยกรุด้วยกระจกเงา เพื่อลวงตาใหัพึ้นทีส่วนนี้ดูกว้างขี้น
2. โคมไฟสไตล์วินเทจที่นำมาใช้ตกแต่งห้อง นวด ฝ่าเท้า
3 เพ้นท์ผนังเป็นลวดลายดอกไม้แล้วติดม่านลูกปัดช้อนทับอีกชั้น นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาสำหรับห้องนวดในสปาที่ไม่สามารถเจาะหน้าต่างหรือช่อง เปิดเพี่อชมทัศนียภาพภายนอกได้
4 ย กพื้ันห้องนวดให้ สูงกว่าระดับพื้นทางเดินเพื่อใช้เป็นที่เก็บรองเท้า
spa

9.28.2553

บริการเสริมในสปา

spa
บริการเสริมในสปา
นอกจากบริการหลักๆ แล้ว สปายังสามารถให้บริการเสริมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ concept ธุรกิจเพื่อเป็นการเสริมให้กิจการของคุณมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยบริการ เสริมต่างๆอาจเป็นได้ทั้งบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ และบริการที่ไม่สร้างรายได้แต่มี
ไว้เพื่อบริการสมาชิก บริการเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางการตลาดที่ก่อให้เกิด มูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจ พูดง่ายแก่คือช่วยสร้างความแตกต่างจากสปาอื่นๆ และเป็นแม่ เหล็กช่วยดึงดูดให้กิจการนั่นเอง ดิฉันมีตัวอย่างเป็นแนวทางในการหาไอเดียสร้าง
บริการเสริมในสปามาฝาก ดังนี้

1.มุมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Drink corner)
อาจทำในรูปแบบของ coffee shop (ร้านกาแฟ) หรือ coffee bar (มุมกาแฟ) แต่เน้นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแทน นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้อิ่มกายสบายท้องโดยไม่ต้องออกไปตากแดดตากลมข้างนอกแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้เสริมที่น่าจะดีไม่น้อย

2.มุมหนังสือ (Book corner)
คุณอาจจัดให้มีห้องสมุดหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพเอาไว้บริการลูกค้าที่สนใจ การมีมุมหนังสือจะช่วยให้ลูกค้าได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับบริการของเรามากขึ้น อีกทั้งยังเป็นมุมให้ลูกค้าได้ผ่อนคลาย
ทำธุระส่วนตัวระหว่างรอรถติด หรือรถคนมารับได้เป็นอย่างดี ฟิตเนส ของโรงแรมปทุมวัน ปรินเซส เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านนี้ หนังสือที่ทางโรงแรมจัดหามาอ่านน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการฟิตเนสประทับใจ และกลายเป็นมุมหนังสือหลายๆ คนที่ไปใช้บริการที่นั่นเลย

3.บริการสปา ดีลิเวอรี่ (Spa Delivery)
เป็นการส่งเจ้าหน้าที่ไปให้บริการลูกค้านอกสถานที่ สำหรับลูกค้าที่เวลาน้อย ไม่สะดวกในการเดินทาง ปัจจุบันมีสปาหลายแห่งบริการ delivery แล้ว บริการนี้ช่วยขยายกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้นได้เป็นอย่างดี
โดเฉพาะลูกค้ากลุ่มที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพแต่ภารกิจรัดตัวแบบสุดๆ แต่การออกให้บริการ
นอกสถานที่จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมหลายๆอย่างด้วยเช่นกันเพราะ
องด์ประกอบของ Spa Delivery นั้นจะแตกต่างจากการให้บริการในสถานที่ ผู้ที่
สนใจก็ควรทำการบ้านและศึกษาข้อมูล ให้ดีก่อนให้บริการ

4.บริการสปาทัวร์ (Spa-Tour)

สำหรับ Day spa ที่มีฐานลูกค้ามั่นคง ก็อาจจัด Spa Tour ให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายนอกสถานที่ เป็นทริปเล็กๆ โดยอาจร่วมมือกับสปาใน
แหล่งท่องเที่ยวหรือรีสอร์ทต่างๆจัดทริปที่น่าสนใจขึ้นมาตามความถนัด เช่นโปรแกรม
ล้างพิษใน 7 วัน ทัวร์บ่อน้ำแร่ ฯลฯ

5.บริการสอนทำโฮมสปา (Home spa course)
อาจจัดเป็นคอร์สง่ายๆ ให้ลูกค้า รู้วิธีทำโฮมสปาด้วยตัวเองที่บ้าน เป็นกิจกรรมที่ช่วยนำเสนอความเป็นมืออาชีพของคุณและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสปากับลูกค้าได้เป็นอย่างดี แต่ต้องไม่ไปซ้ำ
ซ้อนกับบริการหลักๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจเสียลูกค้าได้

6.มุมขายผลิตภัณฑ์ (Product Corner)
อาจจัดให้มีร้านหรือเคาน์เตอร์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าอาจติดอกติิดใจ อยากซื้อติดไม้ติดมือไปฝากคนอื่นหรือใช้ที่บ้านเช่น สครับขัดผิว น้ำมันหอมระเหย เตาน้ำมันหอม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
เป็นรายได้เสริมที่บางทีอาจไม่น้อยไปกว่ารายได้หลักเลย

7.แผนกร้านเสริมสวยและทำผม (Beauty salon)
Day spa หลายแห่งมักมีบริการนี้รวมอยู่ด้วย จัดว่าบริการเสริมที่เกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับธุรกิจสปาได้อย่างกลมกลืนทีเดียว บริการนี้เหมาะกับสปาเป็นอย่างมาก เพราะการทำ ทรีตเมนต์บางอย่างที่ต้องนอนให้นวดนานๆ หรือใส่หมวกคลุมผมก็ทำให้ผมเสียทรง แทนที่จะสบายตัว สบายใจกลับไป ก็กลายเป็นหงุดหงิดแทน ถ้ามีครบวงจรแบบนี้ก็จะทำให้สดใส ดูดีกลับไปแบบที่เรียกว่าจากหัวจรดเท้า

9.10.2553

โครงสร้างการบริหารงานสปา

สปา
การจัดโครงสร้างองค์กรในสปา จะแตกต่างกันไปตามขนาด แนวคิด รูปแบบในการดำเนินธุรกิจและประเภทของสปา โดยทั่วๆไป จะมี ทีมงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยมีตำแหน่งสำคัญที่สุดคือ Spa Manager เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการงานในสปาทั้งหมด และอาจมีมือขวาคือ Assistant Spa Manager เป็น
ผู้ช่วยดูแลความเรียบร้อยในการบริการจัดการด้านต่างๆ ทั้งสองคนนี้จะต้องมีความในการบริหารจัดการด้านการโรงแรมพอสมควร เพราะเปรียบไปแล้ว สปาคืองาน บริการแบบงานโรงแรมผสมผสานงานพยาบาล ตามมาตรฐานของสภาแต่ละแห่งขึ้นอยู่กับดีกรีของบริการที่นำเสนอว่าจะเน้นไปทางไหนมากกว่ากัน

โครงสร้างการบริหารงานสปา (Organization Chart) แบ่งออกเป็น

1.ผู้จัดการสปา (Spa Manager): หรือ Spa Director
เป็นตำแหน่งที่สำคัญต่อกิจการสปาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้บริหารและดูแลทุกอย่างแทนเจ้าของกิจการ เปรียบเสมือนเป็น CEO ของสปา ที่จะต้องดูแลทั้งในส่วนของนโยบายหลักๆของสปาวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน กำหนดและควบคุมมาตรฐานในการบริการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ Spa Manager จะต้องผ่านการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขก่อนจึงจะสามารถทำหน้าที่นี้ได้ Spa Manager ควรมีความรู้ ในเรื่องของ สปาไทย วารีบำบัดในแบบต่างๆ การบริหารธุรกิจสปาโดยใช้หลัก Marketing Mix คุณสมบัติของ Spa Manager ระดับมืออาชีพ จรรยาบรรณของผู้ประกอบกิจการสปา กฎหมายใหม่ของผู้ประกอบการ
มาตรฐานการประกอบการธุรกิจสปาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเรื่องสำคัญๆพื้นฐานในการประกอบธุรกิจสปาเป็นอย่างดี และยังต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับที่ดีอีกด้วย
เพราะผู้ใช้บริการสปาไม่ได้มีแต่เฉพาะคนไทย ชาวต่างชาติก็ยินมใช้บริการสปาไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้น Spa Manager ต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง และจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผู้ดำเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ ดังนี้

. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศใทย
. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรในสาขาทีเกี่ยวกับสุขภาพหรือสาขาที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการ กลางรับรอง หรือให้ความเห็นชอบ หรือมีประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
. ผ่านการประเมินความรู้ ความสามารถ ตามที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลางกำหนด และในกรณีที่เคยเป็น ผู้ดำเนินการมากอน แต่ถูกเพิกถอนใบประเมินความรู้ ความสามารถจะต้องพ้นระยะเวลานับแต่วันที่ถูกเพิกถอนไม่น้อยกว่า 2 ปีจึงจะขอประเมินความรู้ความสามารถใหม่ได้
. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาณหรือความผิดลหุโทษ
. ไม่เป็นโรคต้องห้ามดังต่อไปนี้
. โรคพิษสุราเรึ้อรัง
. โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรงโรคจิต ร้ายแรง โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการสถานประกอบการ
. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเหมือนไร้ความสามารถ

หน้าที่ของผู้จัดการสปา
1. คัดเลือกพนักงาน จัดจ้าง บริหารงานในสปา ดูแลกิจการโดยรวม เช่น การจัดซื้อสินค้า บริหารสินค้าคงคลัง ประสานงานกับ ซัปพลายเออร์ ดูแลพนักงานในกิจการสปา
2. จัดเตรียมรายงานการเงินต่างๆ ดูบัญชี ดูงบประมาณประจำปี บริหารการเงิน ฯลฯ
3. ดูแลนโยบายของกิจการ
4. สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับทีมงาน
5. ประสานงานกับสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต่างๆ และวางแผนงานประชาสัมพันธ์

2. หัวหน้าควบคุมดูแล (supervisor):
ทำหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานบริการ(Therapist) และแม่บ้าน (Attendance) จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และแก้ไขปัญหาในการบริการต่างๆ ควรมีความรู้เรื่องการโรงแรม

3. นักบำบัด (spa Therapist):
ทำหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนให้บริการ และให้บริการ ทรีตเมนต์ต่างๆแก่ลูกค้า

เกณฑ์การคัดเลือกนักบำบัด (Therapist) ที่ดีมีดังนี้
-Good Human skill: นักบำบัดที่ดีจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีทักษะในการสื่อสารในทางบวก มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
-Personal Hygiene: นักบำบัดต้องมีสุขนิสัยที่ดี มีสุขอนามัยส่วนตัวที่ดี ดูรวมๆจากภายนอกแล้วต้องสะอาด มีอนามัย ไม่น่ารังเกียจ เรื่องเล็กน้อยอย่างเช่น กลิ่นตัว กลิ่นปาก ความสะอาดของเล็บมือเล็บเท้า ชุดที่สวมใส่ สุขภาพกายผิวพรรณต้องดี น่าอยู่ใกล้ เพราะการทำงานของนักบำบัดต้องใกล้ชิดกับ ลูกค้ามาก จึงต้องเป็นคนที่ลูกค้ารู้สึกสบายใจพอที่จะมาใช้บริการรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรเลือกคนที่มีอนามัย โดยเนื้อแท้เท่านั้น เพราะเรื่องเล็กๆน้อยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องดูแลเป็นประจำทุกวัน และเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เรื่องที่จะมาตรวจสอบหรือตักเตือนกันได้ทุกวัน ผม เล็บ ฟัน ผิวมือ เท้า ทุกอย่างตั้งแต่หัวจรดเท้าต้องสะอาด อีกทั้งสุขนิสัยส่วนตัว เหล่านี้เป็นต้น ต้องวิเคราะห์ให้ดี
-ต้องมีเสถียรภาพทางอารมณ์ คือ อารมณ์ไม่แปรปรวน โกรธง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว หดหู่ง่าย เหล่านี้เป็นต้น
-ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถในการให้บริการในกรณีที่เป็นพนักงานนวดต้องผ่านการอบรมการนวดมาอย่างถูกต้องตามหลักการนวดแผนต่างๆ

4. ผู้ควบคมและฝึกสอนพนักงาน (Controller & Trainer):
ทำหน้าที่วางแผนและจัดหาผลิตภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ ดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ คอยควบคุมการเบิกของและอุปกรณ์ใปใช้ในการทำทรีตเมนต์ รวมถึงการจัดฝึกอบรมพนักงานทั้งใน
และนอกสถานที่

5. ผู้ควบคุมสินค้า (Product Storage):
ทำหน้าที่จัดหาและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ในสปา รวมถึงการดูแลและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ต่างๆ

6. พนักงานต้อนรับ (Guess Operation):
มีหน้าที่ดูแล ติดต่อ ประสานงานกับลูกค้าที่มาใช้บริการและบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ดูแลต้อนรับลูกค้า และ
คอยแนะนำบริการต่างๆ ตอบข้อถามและให้ความเข้าใจในเรื่องของบริการในสปา ทำ job order ส่งให้ Spa Therapist เพื่อนำไปเบิกอุปกรณ์ที่ใช้ทำทรีตเมนต์ จาก Controller ในแต่ละครั้ง พาลูกค้าไปส่งที่ห้องทำทรีตเม้นต์ อีกทั้งยังต้องคอยดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ Front Desk (ส่วนต้อนรับ) โดยรวมให้สะอาดเรียบร้อย และสวยงาม

7. การตลาดและประซาสัมพันธ์ (Marketing & PubliC Relation):
ทำหน้าที่วางแผนงานการตลาดและดำเนินกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เช่น กำหนดราคาขาย วางแผนและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ดูแลเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการประสานงานกับสื่อมวลชน

8. บัญชีและการเงิน (Finance and Accounting ):
ทำหน้าที่วางแผนการเงิน ทำงบประมาณต่างๆ ดูแลบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงิน

9. พนักงานการเงิน (Cahier): ทำหน้าที่เก็บค่าบริการ และอื่นๆ

10. แม่บ้าน (Attendance): ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสปา

8.18.2553

เสน่ห์ของธุรกิจสปา

spa

มีคำกล่าวที่ว่า “You cannot mix business with pleasure” การได้ทำในสิ่งที่เรารักและความรักในสิ่งที่เราทำต่างหากที่เป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจเติบโตและยั่งยืนความสนใจ เอาใจใส่ในรายละเอียดและความตั้งใจเป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตสวยงาม เวลามีปัญหาหรืออุปสรรคเราก็จะไม่ท้อแท้หรือล้มเลิกง่ายๆ เพราะเรามีความรักให้กับมัน และมันเป็นรากฐานที่สำคัญมากๆ ในการที่เราจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง เราต้อง “Mixbusiness with pleasure” ถ้าเรารักในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่รัก และมีความสุขไปกับมัน ชีวิตคงมีความสุขไม่น้อย ทำแล้วจะมีอุปสรรคอะไรบ้างก็ยังรู้สึกว่ามันสนุก ไม่
น้อยเลย สปาก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีๆ ที่ได้ทำ

สปาเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีๆ เป็นการฟงความสุข และช่วยเติมพลังให้กับข้คน สปาเป็นธุรกิจที่ทำให้เราได้เข้าใจธรรมชาติของชีวิต ทำให้เรารู้ว่าการกลับสู่สมดุลนั้นเป็นอย่างไร การใช้ชีวิตอย่างมีสมดุลนั้นมีผลดีกับร่างกายและจิตใจของเรามากแค่ไหน

สปาเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้คน และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่ไม่ได้เน้นแค่การบำบัดรักษา ดูแลแต่เพียงร่างกายหรือจิตใจ แต่เป็นการนำเอาศาสตร์ต่างๆ ทั้งใหม่และเก่ามาประยุกต์ เพื่อการดูแลทุกๆ ส่วนที่ประกอบกันเป็นผู้คน และในขณะเดียวกัน ผู้รับการบำบัดก็ต้องมีส่วนรวมในกระบวนการบำบัดรักษาด้วยตนเองด้วยสปาจึงเป็นการช่วยเหลือให้ผู้มารับบริการได้ประสาน กาย ใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สุขภาพกายและใจ วิถีแห่งสปาจึงอาจเกิดได้ด้วยความเอื้ออาทร ความใส่ใจที่จะศึกษาและนำเอาวิธีการต่างๆ มาใช้ให้เกิดผลในการบริการ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้และพัฒนา
อยู่ตลอดเวลา

สปาที่ดีจึงต้องเกิดจากความรักในวิชาชีพ ความสนใจในเรื่องของสุขภาพและความใส่ใจในการส่งมอบความรู้สึกที่ดีให้กับผู้คน ซึ่งนี่คือสิ่งเป็นเสน่ห์ของธุรกิจสปาที่ผสมผสานทั้งธุรกิจและความเอื้ออาทรเอาใจใส่ซึ่งกันและกันเอาไว้ด้วยกัน เป็นงานที่รวมเอาศาสตร์และศิลปะให้เป็นหนึ่งเดียว เป็นสุนทรียภาพที่เกิดจากการบริหารจัดการที่ดี เป็นธุรกิจที่แค่ความเป็นมืออาชีพคงยังไม่เพียงพอ ต้องมี passion ที่จะเรียนรู้้เติบโตและส่งมอบสิ่งดีๆให้กับผู้มารับบริการด้วย ธุรกิจสปาจึงเป็นธุรกิจที่นอกจากจะส่งมอบบริการเพื่อสุขภาพที่
ดีมีสมดุลแล้ว ตัวของธุรกิจเองยังต้องบริการจัดการอย่างมีสมดุลในทุกๆด้านจึงจะสามารถสร้างสรรค์ Spa Experience ดีๆ ที่น่าประทับใจขึ้นมาได้

8.13.2553

คอร์สอบรมสปาทีน่าสนใจสำหรับผู้ต้องการทำธุรกิจสปา

คอร์สอบรมสปาทีน่าสนใจสำหรับผู้ต้องการทำธุรกิจสปา

1.แมนดาราสปา:
เป็นสภาใน “โรงแรมแมริออท สปา” มีต้นตำรับมาจากประเทศอินโดนีเซีย มีสาขาไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อปี 1999 ก่อน
ที่จะขยายไปยังสาขาอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ อีก 3 แห่งที่หัวหิน และภูเก็ตอีก 3 แห่ง มีเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ ที่เป็นโรงเรียนเปิดคอร์สเกี่ยวกับการนวดเปิดสอนผู้ที่สนใจทั่วไป
หลักสูตร 3 เดือน เริ่มตั้งแต่การนวดหน้า นวดน้ำมัน การดูแลรับรองแขก อธิบายโปรแกรมต่าง ๆ ให้กับแขก รวมทั้งต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าสปาด้วย

2.ร.ร. สอนวิชาชีพความงามและสปา “ชีวาศรม”:
หลักสูตรที่ชีวาศรมเปิดสอน เป็นหลักสูตรสำหรับผู้สนใจต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับ ธุรกิจสปาแบบครบวงจร แต่ละหลักสูตรจะเปิดรับนักเรียนห้องละ 10-12 คน
เพื่อให้ได้การเรียนการสอนที่มีคุณภาพที่สุด สอนโดยครูผู้สอนทีมีประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพตามมาตรฐาน lnternational Certificate ซึ่งเป็นเครื่องรับรองคุณภาพของครูที่สอนด้านสปา
ซึ่งเป็นครูฝึกให้กับพนักงานของชีวาศรมมาโดยตลอด ใช้เวลาเรียน 1 ปีแห่งการเรียนเป็น 3เทอม โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องลงเรียนครบทั้ง 3โปรแกรม
สามารถเลือกหลักสูตรย่อยตามความสนใจของตัวเอง โดยขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการทำงานและการประกอบธุรกิจ อาทิ ต้องการเปิดสปาเน้นดูแลความสวยงามหรือ เพื่อสุขภาพ เป็นต้น

3.ภเก็ต สปา อแคเดมี (Phuket Academy)
โรงเรียนสปาเต็มรูปแบบ บริหารงานโดย “รอยัลสปา” ซึ่งเป็นสปาชื่อดังของภูเก็ต ร่วมกับสถานวิชาการนานาชาติ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้มีการพัฒนารวบรวมนเละทำหลักสูตรเกี่ยวกับสปามานานแล้ว เป็น “โรงเรียน สอนบุคลากรในธุรกิจสปาอย่างครบวงจรเเละได้มาตรฐาน
สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Boat Lagoon ฎเก็ต

4.สปา ออฟ สยาม เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ (Spa of Siam Training Center)
สถาบันอบรม Therapist เพื่อผลิตบุคลากรป้อนธุรกิจสปาที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเพื่อสนับสนุนธุรกิจสปาในเครือของสปา ออฟ สยาม

5.หลักสูตรนวดแผนไทยโดยกระทรวงสาธารณสข:
ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมพัฒนาแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการนวดไทยขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการส่งเสริมของ
รัฐบาลในการนำสปาและนวดไทยสู่ระดับสากล หลักสูตรการเรียนดังกล่าวประกอบด้วย 7 หลักสูตร ได้แก่
1. หลักสูตรการนวดเท้าเพื่อสุขภาพ 80 ชั่วโมง
2. หลักสูตรนวดเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา 80 ชั่วโมง
3. หลักสูตรการนวดเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง
4. หลักสูตรนวดแผนไทย 372 ชั่วโมง
5. หลักสูตรนวดแผนไทย 800 ชั่วโมง
6. หลักสูตรนวดแผนไทย สำหรับผู้พิการทางสายตา 1,200 ชั่วโมง
7. หลักสูตรนวดไทยสำหรับแพทย์ 65 ชั่วโมง

ผู้ที่ผ่านการอบรมและจบหลักสูตรกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขให้
สนใจติดต่อได้ที่ กระทรวงสาธารณสุข โทร. 02 590 1000 และ 02 591 8300-29

6.สถาบันฝึกอบรมไทยเดย์สปา (Thai Day Spa Academ ):
เป็นมืออาชีพด้านผู้ให้คำปรึกษา (Consultant) ด้านธุรกิจสปา รูปแบบการบริการครบระบบตั้งแต่อบรมบุคลากรอย่างมีมาตรฐาน พัฒนาให้เป็น Therapist มืออาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัย
สำคัญสำหรับการเปิดกิจการสปา อีกทั้งแก้ไขปัญหาการหมุนเวียนและขาดแคลนบุคลากรพร้อมการนำรูปแบบแนวคิดของสปา ( spa concept) การตกแต่ง
การวางระบบ การจัดขือ ด้านการตลาด โฆษณาประชาสัมพันธ์ มีสปาต้นแบบคือ ไบโอโบเต้ เดย์สปา (Bio Beaute' Day Spa) ที่ อาคารเลครัชดา ออฟฟิศคอมเพลกซ์
เยื้องศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นร้านที่ติดอันดับ “ร้านต้นแบบ”(Day Spa Prototype) ของกรมส่งเสริมการส่งออก และยังได้รับการจัดให้เป็น
เอสเอ็มอี ตัวอย่างของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสถาบันพัฒนาเอสเอ็มอีอีกด้วยติดต่อได้ที่ และ www .thaidayspa.com หรือ E-mall. wimolrat@hotmall.com ,thaidayspa@homall.com

ที่มา Spa Ido หนังสื้อคู่มือการทำธุรกิจสปา

8.06.2553

บริการพื้นฐานในสปา

spa

บริการพื้นฐานในสปา
สปาประกอบด้วยบริการที่หลากหลายแต่ละแห่งเทคนิค ผลิตภัณฑ์ แนวทาง
บรรยาากาศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปตามแต่รสนิยม ความชำนาญ และความต้องการ
ของตลาด ซึ่งก็มีมากมายหลายหลากชนิด

องค์ประกอบพื้นฐานของบริการสปาจะเหมือนกัน ดังนี้
• การจัดบรรยากาศที่เนมาะสมในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
• การบำบัดด้วยน้ำ
• การบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ
• การนวด
• ผู้ให้บริการ
จากองค์ประกอบข้างต้น สปาแต่ละแห่งก็จะนำมาแตกรายละเอียดของบริการ
ออกไปตามทักษะ Business concept (แนวธุรกิจ) และความสนใจ แต่ละประเทศ
ก็จะมีเทคนิค วิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันไป ส่วนประเทศไทยเราเป็นชาติแรกที่มีการกำหนดมาตรฐานการบริการสปาเพื่อสุขภาพออกมาอย่างชัดเจนโดยกำหนดขื้นมาเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามพ.ร.บ สถานบริการ พ.ศ. 2509 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2547) ว่า “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายถึงว่า การ
ประกอบกิจการที่ให้การดูแล และเสริมสร้างสุขภาพโดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบ
ด้วยการนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพโดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนาบำบัด และการ ควบคุมอาหาร โยคะ และการทำสมาธิ การใช้สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ หรือไม่ก็ได้” อย่าเพิ่งงงนะคะ เพื่อไม่ให้สับสน
เราขอแนะนำถึงบริการหลักๆ ที่ใช้กันในสปาส่วนใหญ่ไว้ให้เป็นไอเดีย (จริงๆ มีเยอะ
กว่านี้ มากจนจาระไนไม่หมดเลยค่ะ) ซึ่งการให้บริการสปาโดยพื้นฐาน จะประกอบ ไปด้วยทรีตเมนต์ต่างๆ ดังนี้
• การบำบัดด้วยน้ำ หรือวารีบำบัด (Hydrotherapy) ได้แก่การอบไอน้ำซาวน่า ห้องสตีม บ่อน้ำแร่ บ่อน้ำวน ประเภทจากุชชี่ หรืออ่างพิเศษที่ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของโลหิต และเป็นการบริหารฝ่าเท้า
• การบำบัดด้วยมือโดยการนวด (Massage): เป็นการสัมผัสที่สร้าง
ความผ่อนคลายให้แก่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆในร่างกายมีทั้งการนวดแบบแห้งและการนวดที่ใช้น้ำมันหอมระเหย

• พฤกษาบำบัด (Aromatherapy): เป็นการใช้กลิ่นของพืชพรรณธรรมชาติช่วยให้คลายเครียด สงบ สดชื่น ผ่านการนวดตัว หรือจุดสมุนไพรให้กลิ่นหอมระเหยสำหรับสูดดม
• บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: รวมถึงการให้บริการด้านความงาม สุขภาพ การ ออกกำลังกาย พอกหน้า ขัดผิว ฯลฯ

บริการพื้นฐานในสปาแต่ละแห่งต้องสามารถตอบความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้บริการได้ดังนี้
• Time to relax ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกผ่อนคลาย
• Time to reflect สามารถสร้างบรรยากาศที่ร่นรมย์ มีสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนความรู้สึกดีๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย ต่อแขกผู้มาเยือน
• Time to revitalize ทรีตเมนต์ต่างๆต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้เติมพลังให้กับตัวเอง
• Time to rejoice ให้ความสดชื่นเบิกบาน จากองค์ประกอบทั้งหมด เช่น น้ำ
กลิ่น บรรยากาศ และการนวด

ที่มา หนังสือคู่มือการทำธุรกิจสปา Spa Ido

7.30.2553

องค์ประกอบหลักในสปา




องค์ประกอบหลักในสปา
สปา คือ สถานที่ ที่รวมเอาศาสตร์และศิลป์ผนวกกันเพื่อให้ได้สุนทรียภาพของ ความงามและการผ่อนคลายไว้อย่างสมดุล ดังนั้น สปาจึงจำเป็นต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้

1.รูป (Form): หมายถึง
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเรา ที่สัมผัสได้ด้วยสายตาที่มองเห็น และบ่งบอกได้ถึงความรู้สึกและอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น สีที่เรามองเห็นแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น สีแดงเป็นสีแห่งพลัง ถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสีแดงมากเกินไป เราจะรู้สึกเหนื่อยจนอาจหมดแรงได้ สีต่างๆ ยังสามารถช่วยในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น สีเขียวมีคุณสมบัติในการสมานรอยร้าวของกระดูกได้ รูปที่เราเห็นเราสามารถสัมผัสได้สามารถแสดงอารมณ์และความ รู้สึกที่สร้างสรรค์ สดชื่น และสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับจิตใจของเราได้ สปาที่ ดีจะต้องมีบรรยากาศในเชิงบวกที่รื่นรมย์และเอื้อต่อบริการในทรีตเมนต์ต่างๆ

2.รส (Taste): หมายถึง
รสชาติของอาหาร เป็นสิ่งที่ส่งผลต่ออารมณ์ของคนเราได้เป็นอย่างมากทีเดียว เช่น เมื่อเรากินช็อกโกแลตมากเกินไป ช่วงแรกจะรู้สึกสดชื่นแต่สักพักจะรู้สึกอึดอัดและหงุดหงิด รสตามศาสตร์ของสภาแล้วนอกจากสัมผัสที่อร่อยลิ้นยังต้องดีต่อสุขภาพอีกด้วย

3.กลิ่น(scent): หมายถืง
กลิ่นต่างๆที่เราสัมผัสได้จากโสตประสาทที่ผ่านเข้ามาทางจมูก โลกของเรามีกลิ่นอยู่มากมาย บางกลิ่นก็สามารถแยกได้ว่าเป็น กลิ่นของอะไรมาจากไหน แต่บางกลิ่นก็ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร
กลิ่นตามศาสตร์ของสปาต้องเป็นกลิ่นที่สร้างความดื่มด่ำฉ่ำชื่นให้กับผู้ที่ได้รับ กลิ่นนั้น กลิ่นของสปา หมายถึง กลิ่นแห่งการบำบัด (Aromatherapy) โดยต้อง เป็นกลิ่นที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น “น้ำมันหอมระเหย (Essential oil)” เมื่อได้สูดดม หรือลูบไล้ กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะซึมเข้าสู่ผิวหนัง และมีสรรพคุณในทางบวก ช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสึกกระตือรือร้น หรือแม้แต่ลดน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยกลิ่นและชนิดนั้นๆ

4.เสียง (sound):
เสียงสามารถแทรกซึมเข้าถึงทุกอณูแห่งความรู้สึกของมนุษย์ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากธรรมชาติหรือบทเพลง และเสียง รังสรรค์ออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของคน ทำนองเพลงมักจะเกิด
จากแรงขับภายใน ที่เรียกว่า Motif ของผู้แต่ง ทำนองที่มีลีลาเชื่องช้า เคล้า บรรืยากาศเศร้า เรียกว่า Minor mode จะให้ความรู้สึกเศร้า ส่วนทำนองที่ ประกอบไปด้วยจังหวะเร็วในแบบ Major mode ทำให้รู้สึกสดชื่นรื่นเริง เสียงใน สติและดนตรีมีความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ ระบบประสาท และภูมิคุ้มกันโรค เมื่อคนฟังดนตรีจะเกิดอารมณ์สุขสดชื่น ทำให้เพิ่มระดับเอนดอร์ฟินอันเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และมีส่วนควบคุมการตอบรับของร่างกายที่มีต่อความเครียด อารมณ์ และการหดตัว ของผนังลำไส้เมื่ออยู่ท่ามกลางเสียงดนตรีเบาๆ เราจึงรู้สึกผ่อนคลายและเข้าสู่ ภาวะสมดุล ศาสตร์แห่งสปาจะให้ความสำคัญต่อเสียงอย่างมาก เสียงที่เรา ได้ฟังนั้น จะต้องเป็นเสียงที่ไม่ทำลายสุขภาพหู ต้องไม่ดังเกินความ สามารถที่ร่างกายจะรับฟังได้ เสียงของธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงลมพัด เป็นเสียงที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายใจ ดนตรีบางประภท เช่น เพลงบรรเลง นิวเอจ ฯลฯ ฟังแล้วช่วยให้จิตใจสงบ และเสียงเหล่านี้จะช่วยเพิ่ม พลังความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นเวลาเครียด การฟังเพลงจะทำให้เรารู้สึกสบายขึ้น
เพราะสมองถูกเบี่ยงเบน และได้ปรับวงจรใหม่ จะเห็นได้ว่าเสียงและดนตรีนั้น
มีผลทางจิตวิทยาต่อชีวิตจิตใจของคนเราอย่างมาก ดังนั้น สปาที่ดีจะต้องเลือก
นำเสียงต่างๆ มาให้ใช้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างบรรยากาศและการ
บำบัดให้เหมาะสมและลงตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ถ้าจะให้ดีผู้
ประกอบธุรกิจสปาควรมีความรู้เรื่องนี้พอสมควร เพื่อนำไปใช้ออกแบบเสียงที่
จะใช้ในสปาได้อย่างเหมาะสม

5.สัมผัส (Touch): หมายถึง
สัมผัสที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา โดยอาจเป็นสัมผัสจากการนวดน้ำมัน หรือ ความรู้สึกนุ่มนวลดุจกำมะหยี่ของดอกไม้ที่เราลอยลงไปในอ่าง จะให้ความ
รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย หรือสัมผัสของสายน้ำเย็นๆ แรง ๆ ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและระบบการล้างพิษของเซลล์ผิว ทำให้ผิวเนียนเรียบขึ้นก็ได้ สัมผัสหลักๆของสภาคือการนวด การนวดทุกประเภทจะช่วยกระตุ้นต่อมน้ำเหลืองให้ทำงานเป็นปกติ ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดีขึ้น และยังช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย การนวดไม่จำเป็นต้องเป็นการนวดด้วยมือเท่านั้น การนอนแช่อ่างน้ำที่มีแรงดันก็สามารถทำให้เราผ่อนคลายได้เช่นกันเมื่อร่างกายได้รับความรู้สึกทั้ง 5 นี้แล้วจะเกิดความรู้สึกเป็นสุข สงบ ผ่อนคลายนั้นก็หมายความว่าร่างกายของเราได้พักผ่อนเต็มที่และเพียงพอต่อความต้องการของระบบต่างๆในร่างกาย และนี่แหละคือองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สปาเป็นสปา

เรียกได้ว่า สปาคือศาสตร์ที่รวมเอา สัมผัสทั้ง 5 ไว้ในที่เดียวกันได้อย่างลงตัวและสมดุลนั่นเอง

7.21.2553

สปาไทย




สปาไทย
สปาไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก สปาไทยมีการนำเอามรดกไทยและความรู้ดั้งเดิมของไทยมาต่อยอด เช่น การอบสมุนไพรไทยด้วย
การอบร่ำประทินผิวแบบไทยๆ การนวดแผนไทย มีการนำสมุนไพรพื้นบ้าน มาประยุกต์ใช้ได้อย่างลง เรียกว่า “Thai Spa” เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของ
สปาไทย ในปัจจุบันในบางประเทศได้นำเทคนิคบำบัดแบบไทยๆ ไปใช้ และภาครัฐก็มีนโยบาย ให้การสนับสนุน และมุ่งพัฒนา
สปาของไทยให้เป็น “Spa capltal of Asia” โดยการเน้นไปที่ 3 ด้านคือ

1. การเป็นศูนย์กลางในการรักษาโรคเฉพาะทาง
2. การนวดแผนโบราณแบบไทยและสปา
3. ผลิตภัณฑ์สุขภาพสมุนไพรไทย

กลยุทธ์ ดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2547-2551) เหตุผลใดที่ทำให้สปาไทย ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมเข้ามาใช้บริการสปาในประเทศไทยคิดเป็นมูลค่า ปีละกว่า
1,500 ล้านบาท ปัจจุบันในประเทศไทยมีสถานบริการสปาไทย ทั้งสิ้นกว่า 230 แห่งโดยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย สาเหตุที่สปาไทยเป็นที่นิยมของนานาชาติ พอจะสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1. จุดแข็งในเรื่องของสมุนไพร ทั้งในด้านของแหล่งผลิต ความหลากหลาย สภาพภูมิประเทศ และภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ที่มีการนำสมุนไพรมาใช้แต่โบราณ ทำให้ไทย
ได้เปรียบชาติอื่นๆในด้านนี้

2. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของไทย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม หรือสถาปัตยกรรมของไทย ก็ล้วนแต่เป็นทำเลที่ตั้งที่ช่วยเสริม
ให้สปาไทย มีเสน่ห์น่าหลงใหลมากยิ่งขึ้น

3. การบริการที่นุ่มนวลประทับใจของ Spa Therapist คนไทยจะมีความแตกต่างจากคนชาติอื่นๆ เรื่องความอ่อนโยนของคนไทย มารยาทและมิตรไมตรีแบบไทยๆ
เป็นเอกลักษณ์ที่แท้จริงที่ไม่อาจลอกเลียนแบบได้

4. การนวดแผนไทย เป็นมรดกไทยที่สั่งสมมานาน และสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน ซึ่งนำมาผสมผสานเข้ากับศาสตร์สปาไทย ได้อย่างกลมกลืนลงตัว เป็นลักษณะ
พิเศษในสปาไทยที่น่าลุ่มหลง แต่อย่าสับสนกับคำว่า เอกลักษณ์ของสปาไทยกับการให้บริการทรีตเมนต์แบบต่างๆ ไม่ว่าเราจะนำเทคนิคการให้บริการแบบไหนมา
ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการทำทรีตเมนต์แบบยุโรป บาหลี อินเดีย หรือชาติใดๆ ก็ตามเราก็สามารถนำเอกลักษณ์แบบไทยมาผสมผสานเป็นจุดเสริมเพื่อสร้างความประทับใจ
ให้แก่ผู้ใช้บริการได้

5.ศิลปะวัฒนธรรมไทย ทั้งในแง่ของสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ศิลปหัตถกรรม และอื่นๆชึ่งแฝงอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบอาคาร การจัดสวน การตกแต่งภายใน
ภาชนะข้าวของเครื่องใช้ และอื่นๆ สิ่งที่เราเห็นจนชินตาเหล่านี้ ล้วนเป็นเสน่ห์ความงามแบบไทยไทยที่หลายๆ ชาติชื่นชมและอิจฉา

นอกจากนี้เรายังมีสมาพันธ์สปาทั่วประเทศ จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2547 ขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของสปาไทย และเพื่อพัฒนาสปาไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยจะใช้ตราสัญลักษณ์เดียวกันทั่วประเทศในชื่อของ “ไทยสปา” เพื่อส่งเสริมการตลาดในต่างประเทศ โดยสภาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งผู้ประกอบการและ
ผู้ให้บริการจะได้รับโลโก้จากสมาพันธ์ ซึ่งเป็นเสมือนใบรับรองคุณภาพในธุรกิจสปา

7.13.2553

สปาหมายถึงอะไร ?


สปาหมายถึงอะไร ?
สปาคือ รูปแบบการบำบัดที่มีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว มีหลักฐานอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดที่ คือ สปาที่เมือง
โมเฮนโจ-ดาโร (Mohenjo-Daro) ในประเทศอินเดีย เมื่อราวๆ 2000 ปีก่อนคริสต์กาล สปาจึงจัดว่าเป็น ศาสตร์เก่าแก่ที่สืบทอดกันมานานอีกแขนงหนึ่ง
นอกจากนี้เมื่อประมาณ 1,500 ปีที่แล้ว สปายังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัย กรีกโบราณ ในยุคนั้นสภาจัดว่าเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์สำหรับชายหนุ่มยุคนั้น ต่อมาโรมันก็รับเอาวัฒนธรรมการบำบัดแบบนี้มาด้วยและกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “RomanBath” หรือ “Taking the waters” นั่นเอง
ในยุคนั้นไม่ได้ใช้คำว่า “ สปา” คำว่าสภามีต้นกำเนิดมาจากชื่อเมืองชื่อ “spau” ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในเบลเยี่ยม ดั้งอยู่ในเทือกเขาแห่งอารเดนเนส (Ardennes Mountains) มีบ่อน้ำพุร้อนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ
และชาวยุโรปนิยมไปพักผ่อนที่นั่นมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งมีการนำน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษนี้มาใช้บำบัดโรค เช่น การแช่ตัว การใช้น้ำร้อนน้ำเย็น การใช้ไอน้ำนวดประคบตัว วิธีการทางธรรมชาติบำบัดเหล่านั้นคือหลักการของสปาที่ช่วยปรับความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน

ข้อมูลจากบางแหล่งยังอ้างว่า สปาเป็นมีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน
SANUS PER ACQUA มีความหมายดังนี้
S For Salus Heayth = สุขภาพ
P For Per Through. = ด้วย
A For Aqua water = น้ำ
หรือความหมายรวมๆคือ การบำบัดสุขภาพด้วยน้ำ หรือ วารีบำบัด

“ สปา” เป็นคำที่อ้างอิงกับการใช้น้ำเพื่อการบำบัดร่างกายเพื่อให้เกิดความสมดุล
ผ่อนคลายและสบายตัวโดยมีการใช้น้ำบำบัดในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำแร่ เป็นต้นทั้งนี้
เพื่อมีผลต่อผิวหนังและร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณดีชึ้น ช่วยในการไหลเวียนโลหิต ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้น้ำอุ่น ในปัจจุบันรูปแบบสภาได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา และได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ละยังมีการนำเอาศาสตร์บำบัดในแต่ละท้องถิ่นมาผสมผสานเพิ่มเติมเกิดเป็นการบำบัดในแบบต่างๆอีกด้วย

สปาจึงไม่ได้เป็นแค่การฟื้นฟูสุขภาพด้วยน้ำ (วารีบำบัด) เพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้ชื่นชมในประสาท สัมผัสห้า ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส ซึ่งจะประกอบด้วย ทรีตเมนต์ (Treatment) หลัก 4 อย่าง คือ การนวดแบบต่างๆ การทรีดเมนต์หน้า ทรีตเมนต์ตัว และ ทรีตเมนต์โดยใช้เครื่องมือแบบต่างๆ

หรืออาจจะสรุปได้ว่า สปา คือ การบำบัดด้วยน้ำเข้ากับวิธีการบำบัดนเบบอื่นๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เช่น ในบาหลีมีการนวดแบบ Stone Massage โดยนำหินลาวามานวดคลึงเส้นเบาๆ ทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายตัว หรือ แบบรัสเชีย ก็มีทรีตเมนต์ที่เรียกว่า Banya เป็นการบำบัดแบบพื้นบ้านของรัสเซียโดย ใช้ไอร้อนจากน้ำมาขับเหงื่อเพื่อขจัดของเสียออกจากร่างกาย อย่างนี้เป็นต้น แต่ไม่ว่ารูปแบบจะแตกต่างกันอย่างไร
หัวใจหลัก ของธุรกิจสปาก็ยังคงเหมือนเดิม นั่นคือการให้บริการที่เป็นเหมือนการ
ฟื้นฟูสุขภาพให้สดชื่นและผ่อนคลาย เหมือนเป็นการชาร์ตแบตเตอรี่ให้ผู้คนกลับมามี ความสุขกาย สบายใจ นั่นเอง