5.31.2554

ลูกประคบ

การประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน นำ
ลูกประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก อาศัยความร้อนและคุณสมบัติสมุนไพร ทำให้
อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้รักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้
รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดเสร็จแล้วจึงประคบนาบไปตาม
ร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว
และตัวยาสมุนไพรร้อน ๆซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้
เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ
และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตสมุนไพรที่ใช้ในตำรับยาลูกประคบไม่แตกต่างกันไปในวัตถุประสงค์ของการรักษา

ลูกประคบ
ภาพจากthaidbmarket.com
เช่น ตำรับแก้ปวดเมื่อย ตำรับแก้เหน็บชา ตำรับแก้อัมพฤกษ์ อัมพาตสำหรับแก้ตะคริว เป็นต้น

ตำรับแก้ปวดเมื่อยของแต่ละแห่งอาจไม่ใช่สูตรเดียวกัน แต่มีตัวยาหลักเหมือนกัน
ส่วนประกอบลูกประคบตำรับแก้ปวดเมื่อยเคล็ดขัคยอก
หัวไพลสด 1/2 กิโลกรัม
หัวขมิ้นอ้อยและขมิ้นชัน รวมกันให้ได้ 1 ขีด
ต้นตะไคร้บ้าน 1 ขีด
ผิวมะกรูด ถ้าไม่มีใช้ใบแท้ได้ 2 ขีด
ใบมะขาม 3 ขด
ใบส้มป่อย 1 ขีด
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
การบูร 1 ช้อนชา
พิมเสน 1 ช้อนชา
เถาเอ็นอ่อน 1/2 ขีด

ตัวยาสมุนไพรส่วนใหญ่มีสรรพคุณในการแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ทำให้
เส้นเอ็นคลายตัว เมื่อโดนความร้อนจากลูกประคบ ส่งยาออกมาเสริมฤทธิ์
ความร้อน จะส่งผลดีในการรักษา ยิ่งใช้สมุนไพรสดๆด้วยแล้วจะมีสารสำคัญ
มากกว่าสมุนไพรเเห้ง น้ำมันหอมระเหยมีมากกว่า เวลาที่ไปซื้อลูกประคบ
ตามร้านจึงไม่ดีเท่าสมุนไพรลูกประคบทำเองจากสมุนไพรสด

นอกจากนี้อาจใช้สมุนไพรอื่นร่วมอีก เช่น ว่านนางคำ ใบพลับพลึง ขิงสด
หัวหอม ย่านน้ำ ดีปลี เปราะหอม ผักบุ้ง เปลือกชลูด เป็นต้น ตามแต่จะหามา
ได้เท่าไร แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ หัวไพล ผิวมะกรูด ใบมะขาม และใบส้มป่อย

1.ไพล แก้ปวดเมื่อย ลดอักเสบ
2.ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
3.ตะไคร้บ้าน ใช้แต่งกลิ่น บรรเทาปวดเมื่อย ลดอักเสบ
4.ใบมะขาม เhก้อาการคันตามร่างกาย บำรุงผิว
5.ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
6.เกลือ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผานผิวหนังได้สะดวกขึ้น
7.พิมเสน ใช้แต่งกลิ่น แก้พุพอง แก้หวัด คัดจมูก
8.การบูร ช่วยแต่งกลิ่นและบำรุงหัวใจ
9.ใบส้มป่อยช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต
10.เถาเอ็นอ่อน แก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น

วิธีทำลูกประคบ
1.ล้างสมุนไพรให้สะอาด แล้วหันหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรู
แล้วโขลกพอแหลก
2.นำมาผสมกับใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือ พิมเสน การบูร ให้เข้ากัน
โดยทั่ว และอย่าให้แฉะเกินไป
3.แบ่งตัวยาที่คลุกเคล้าเรียบร้อยแล้วได้ประมาณ 3 ส่วน (ขึ้นกับขนาด
ลูกประคบ) ห่อด้วยผ่าดิบขนาด 35x35 เซนติเมตร รัดด้วยเชือกสีขาวให้แน่น

วิธีการประคบ
1.จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น ท่านอนหงาย หรือนอนตะแคง ขึ้นกับตำแหน่งที่ต้องการประคบ เป็นต้น
2.นำลูกประคบไปนึ่งพอให้ร้อน ประมาณ 10-15 นาที ใช้ผ้าจับลูกประคบยกออกจากหม้อนึ่ง
3.ทดสอบความร้อนที่ท้องแขนหรือที่หลังมือก่อนว่าร้อนพอเหมาะหรือยัง
4.วางประคบผิวหนังเร็วๆในช่วงแรกเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยร้อนเกินไป สักพัก
ลูกประคบคลายร้อยลงให้นาบประคบนานขึ้น และเปลี่ยนลูกประคบเมื่อเย็นเกินไป
5.หากบริเวณที่ต้องการประสบมีเนื้อที่มาก เช่น ประคบทั้งตัว เป็นต้น ควร
ใช้ลูกประคบ 2 ลูก นึ่งสลับกันไม่ให้ขาดตอน

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ลูกประทับที่ร้อนเกินไป ถ้าด้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อน
ควรระวังเป็นพิเศษในเด็ก ผู้ปวยอัมพาต ผู้สูงอายุ เพราะผิวบอบบาง ระวัง
ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะประสาทรับความร้อนหนาวอาจเสื่อมลง
อย่าใช้ลูกประคบร้อนประคบแผลอักเสบปวด บวม ที่เพิ่งเกิดขึ้นใน 24
ชั่วโมง เพราะจะทำให้รวมมากขึ้น หากต้องการประคบควรใช้ประคบเย็นเพือ
หยุดการอักเสบและบรรเทาปวด หลังประคบสมุนไพร ควรรอให้ตัวยาซึมเข้า
ผิวหนังให้หมด อย่ารีบไปอาบน้ำหรือล้างน้ำ

วิธีเก็บรักษาลูกประคบ
ลูกประคบที่นั่งใช้แล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน 3-5 วัน (หากไม่บูดเสีย
ก่อน) โดยเก็บไว้ในตู้เย็น หากไม่เก็บในตู้เย็นให้นำไปผึ่งแดดให้แห้งเสียก่อน
ก่อนจะนั่งอีกครั้ง หากลูกประคบแห้งเกินไปควรพรมน้ำให้ชุ่มก่อน
หากลูกประสบมีสีจางลง ไม่ค่อยมีสีเหลืองออกมาแล้ว แสดงว่ายาจืด
ทิ้งได้แล้ว

ประโยชน์ของการประคบ
1.บรรเทาอาการปวดเมื่อย
2.ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หลังการบาดเจ็บ ๒๔-๔๘ ชั่วโมง
3.ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4.ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก
5.ลดอาการติดขัดของข้อต่อ
6.ลดอาการปวด
7.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

ที่มา หนังสือ สปา ธุรกิจทำเงิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น