9.28.2553

บริการเสริมในสปา

spa
บริการเสริมในสปา
นอกจากบริการหลักๆ แล้ว สปายังสามารถให้บริการเสริมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ concept ธุรกิจเพื่อเป็นการเสริมให้กิจการของคุณมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยบริการ เสริมต่างๆอาจเป็นได้ทั้งบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ และบริการที่ไม่สร้างรายได้แต่มี
ไว้เพื่อบริการสมาชิก บริการเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางการตลาดที่ก่อให้เกิด มูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจ พูดง่ายแก่คือช่วยสร้างความแตกต่างจากสปาอื่นๆ และเป็นแม่ เหล็กช่วยดึงดูดให้กิจการนั่นเอง ดิฉันมีตัวอย่างเป็นแนวทางในการหาไอเดียสร้าง
บริการเสริมในสปามาฝาก ดังนี้

1.มุมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Drink corner)
อาจทำในรูปแบบของ coffee shop (ร้านกาแฟ) หรือ coffee bar (มุมกาแฟ) แต่เน้นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแทน นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้อิ่มกายสบายท้องโดยไม่ต้องออกไปตากแดดตากลมข้างนอกแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้เสริมที่น่าจะดีไม่น้อย

2.มุมหนังสือ (Book corner)
คุณอาจจัดให้มีห้องสมุดหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพเอาไว้บริการลูกค้าที่สนใจ การมีมุมหนังสือจะช่วยให้ลูกค้าได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับบริการของเรามากขึ้น อีกทั้งยังเป็นมุมให้ลูกค้าได้ผ่อนคลาย
ทำธุระส่วนตัวระหว่างรอรถติด หรือรถคนมารับได้เป็นอย่างดี ฟิตเนส ของโรงแรมปทุมวัน ปรินเซส เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านนี้ หนังสือที่ทางโรงแรมจัดหามาอ่านน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการฟิตเนสประทับใจ และกลายเป็นมุมหนังสือหลายๆ คนที่ไปใช้บริการที่นั่นเลย

3.บริการสปา ดีลิเวอรี่ (Spa Delivery)
เป็นการส่งเจ้าหน้าที่ไปให้บริการลูกค้านอกสถานที่ สำหรับลูกค้าที่เวลาน้อย ไม่สะดวกในการเดินทาง ปัจจุบันมีสปาหลายแห่งบริการ delivery แล้ว บริการนี้ช่วยขยายกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้นได้เป็นอย่างดี
โดเฉพาะลูกค้ากลุ่มที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพแต่ภารกิจรัดตัวแบบสุดๆ แต่การออกให้บริการ
นอกสถานที่จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมหลายๆอย่างด้วยเช่นกันเพราะ
องด์ประกอบของ Spa Delivery นั้นจะแตกต่างจากการให้บริการในสถานที่ ผู้ที่
สนใจก็ควรทำการบ้านและศึกษาข้อมูล ให้ดีก่อนให้บริการ

4.บริการสปาทัวร์ (Spa-Tour)

สำหรับ Day spa ที่มีฐานลูกค้ามั่นคง ก็อาจจัด Spa Tour ให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายนอกสถานที่ เป็นทริปเล็กๆ โดยอาจร่วมมือกับสปาใน
แหล่งท่องเที่ยวหรือรีสอร์ทต่างๆจัดทริปที่น่าสนใจขึ้นมาตามความถนัด เช่นโปรแกรม
ล้างพิษใน 7 วัน ทัวร์บ่อน้ำแร่ ฯลฯ

5.บริการสอนทำโฮมสปา (Home spa course)
อาจจัดเป็นคอร์สง่ายๆ ให้ลูกค้า รู้วิธีทำโฮมสปาด้วยตัวเองที่บ้าน เป็นกิจกรรมที่ช่วยนำเสนอความเป็นมืออาชีพของคุณและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสปากับลูกค้าได้เป็นอย่างดี แต่ต้องไม่ไปซ้ำ
ซ้อนกับบริการหลักๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจเสียลูกค้าได้

6.มุมขายผลิตภัณฑ์ (Product Corner)
อาจจัดให้มีร้านหรือเคาน์เตอร์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าอาจติดอกติิดใจ อยากซื้อติดไม้ติดมือไปฝากคนอื่นหรือใช้ที่บ้านเช่น สครับขัดผิว น้ำมันหอมระเหย เตาน้ำมันหอม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
เป็นรายได้เสริมที่บางทีอาจไม่น้อยไปกว่ารายได้หลักเลย

7.แผนกร้านเสริมสวยและทำผม (Beauty salon)
Day spa หลายแห่งมักมีบริการนี้รวมอยู่ด้วย จัดว่าบริการเสริมที่เกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับธุรกิจสปาได้อย่างกลมกลืนทีเดียว บริการนี้เหมาะกับสปาเป็นอย่างมาก เพราะการทำ ทรีตเมนต์บางอย่างที่ต้องนอนให้นวดนานๆ หรือใส่หมวกคลุมผมก็ทำให้ผมเสียทรง แทนที่จะสบายตัว สบายใจกลับไป ก็กลายเป็นหงุดหงิดแทน ถ้ามีครบวงจรแบบนี้ก็จะทำให้สดใส ดูดีกลับไปแบบที่เรียกว่าจากหัวจรดเท้า

9.10.2553

โครงสร้างการบริหารงานสปา

สปา
การจัดโครงสร้างองค์กรในสปา จะแตกต่างกันไปตามขนาด แนวคิด รูปแบบในการดำเนินธุรกิจและประเภทของสปา โดยทั่วๆไป จะมี ทีมงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยมีตำแหน่งสำคัญที่สุดคือ Spa Manager เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการงานในสปาทั้งหมด และอาจมีมือขวาคือ Assistant Spa Manager เป็น
ผู้ช่วยดูแลความเรียบร้อยในการบริการจัดการด้านต่างๆ ทั้งสองคนนี้จะต้องมีความในการบริหารจัดการด้านการโรงแรมพอสมควร เพราะเปรียบไปแล้ว สปาคืองาน บริการแบบงานโรงแรมผสมผสานงานพยาบาล ตามมาตรฐานของสภาแต่ละแห่งขึ้นอยู่กับดีกรีของบริการที่นำเสนอว่าจะเน้นไปทางไหนมากกว่ากัน

โครงสร้างการบริหารงานสปา (Organization Chart) แบ่งออกเป็น

1.ผู้จัดการสปา (Spa Manager): หรือ Spa Director
เป็นตำแหน่งที่สำคัญต่อกิจการสปาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้บริหารและดูแลทุกอย่างแทนเจ้าของกิจการ เปรียบเสมือนเป็น CEO ของสปา ที่จะต้องดูแลทั้งในส่วนของนโยบายหลักๆของสปาวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน กำหนดและควบคุมมาตรฐานในการบริการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ Spa Manager จะต้องผ่านการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขก่อนจึงจะสามารถทำหน้าที่นี้ได้ Spa Manager ควรมีความรู้ ในเรื่องของ สปาไทย วารีบำบัดในแบบต่างๆ การบริหารธุรกิจสปาโดยใช้หลัก Marketing Mix คุณสมบัติของ Spa Manager ระดับมืออาชีพ จรรยาบรรณของผู้ประกอบกิจการสปา กฎหมายใหม่ของผู้ประกอบการ
มาตรฐานการประกอบการธุรกิจสปาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเรื่องสำคัญๆพื้นฐานในการประกอบธุรกิจสปาเป็นอย่างดี และยังต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับที่ดีอีกด้วย
เพราะผู้ใช้บริการสปาไม่ได้มีแต่เฉพาะคนไทย ชาวต่างชาติก็ยินมใช้บริการสปาไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้น Spa Manager ต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง และจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผู้ดำเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ ดังนี้

. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศใทย
. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรในสาขาทีเกี่ยวกับสุขภาพหรือสาขาที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการ กลางรับรอง หรือให้ความเห็นชอบ หรือมีประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
. ผ่านการประเมินความรู้ ความสามารถ ตามที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลางกำหนด และในกรณีที่เคยเป็น ผู้ดำเนินการมากอน แต่ถูกเพิกถอนใบประเมินความรู้ ความสามารถจะต้องพ้นระยะเวลานับแต่วันที่ถูกเพิกถอนไม่น้อยกว่า 2 ปีจึงจะขอประเมินความรู้ความสามารถใหม่ได้
. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาณหรือความผิดลหุโทษ
. ไม่เป็นโรคต้องห้ามดังต่อไปนี้
. โรคพิษสุราเรึ้อรัง
. โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรงโรคจิต ร้ายแรง โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการสถานประกอบการ
. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเหมือนไร้ความสามารถ

หน้าที่ของผู้จัดการสปา
1. คัดเลือกพนักงาน จัดจ้าง บริหารงานในสปา ดูแลกิจการโดยรวม เช่น การจัดซื้อสินค้า บริหารสินค้าคงคลัง ประสานงานกับ ซัปพลายเออร์ ดูแลพนักงานในกิจการสปา
2. จัดเตรียมรายงานการเงินต่างๆ ดูบัญชี ดูงบประมาณประจำปี บริหารการเงิน ฯลฯ
3. ดูแลนโยบายของกิจการ
4. สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับทีมงาน
5. ประสานงานกับสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต่างๆ และวางแผนงานประชาสัมพันธ์

2. หัวหน้าควบคุมดูแล (supervisor):
ทำหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานบริการ(Therapist) และแม่บ้าน (Attendance) จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และแก้ไขปัญหาในการบริการต่างๆ ควรมีความรู้เรื่องการโรงแรม

3. นักบำบัด (spa Therapist):
ทำหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนให้บริการ และให้บริการ ทรีตเมนต์ต่างๆแก่ลูกค้า

เกณฑ์การคัดเลือกนักบำบัด (Therapist) ที่ดีมีดังนี้
-Good Human skill: นักบำบัดที่ดีจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีทักษะในการสื่อสารในทางบวก มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
-Personal Hygiene: นักบำบัดต้องมีสุขนิสัยที่ดี มีสุขอนามัยส่วนตัวที่ดี ดูรวมๆจากภายนอกแล้วต้องสะอาด มีอนามัย ไม่น่ารังเกียจ เรื่องเล็กน้อยอย่างเช่น กลิ่นตัว กลิ่นปาก ความสะอาดของเล็บมือเล็บเท้า ชุดที่สวมใส่ สุขภาพกายผิวพรรณต้องดี น่าอยู่ใกล้ เพราะการทำงานของนักบำบัดต้องใกล้ชิดกับ ลูกค้ามาก จึงต้องเป็นคนที่ลูกค้ารู้สึกสบายใจพอที่จะมาใช้บริการรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรเลือกคนที่มีอนามัย โดยเนื้อแท้เท่านั้น เพราะเรื่องเล็กๆน้อยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องดูแลเป็นประจำทุกวัน และเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เรื่องที่จะมาตรวจสอบหรือตักเตือนกันได้ทุกวัน ผม เล็บ ฟัน ผิวมือ เท้า ทุกอย่างตั้งแต่หัวจรดเท้าต้องสะอาด อีกทั้งสุขนิสัยส่วนตัว เหล่านี้เป็นต้น ต้องวิเคราะห์ให้ดี
-ต้องมีเสถียรภาพทางอารมณ์ คือ อารมณ์ไม่แปรปรวน โกรธง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว หดหู่ง่าย เหล่านี้เป็นต้น
-ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถในการให้บริการในกรณีที่เป็นพนักงานนวดต้องผ่านการอบรมการนวดมาอย่างถูกต้องตามหลักการนวดแผนต่างๆ

4. ผู้ควบคมและฝึกสอนพนักงาน (Controller & Trainer):
ทำหน้าที่วางแผนและจัดหาผลิตภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ ดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ คอยควบคุมการเบิกของและอุปกรณ์ใปใช้ในการทำทรีตเมนต์ รวมถึงการจัดฝึกอบรมพนักงานทั้งใน
และนอกสถานที่

5. ผู้ควบคุมสินค้า (Product Storage):
ทำหน้าที่จัดหาและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ในสปา รวมถึงการดูแลและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ต่างๆ

6. พนักงานต้อนรับ (Guess Operation):
มีหน้าที่ดูแล ติดต่อ ประสานงานกับลูกค้าที่มาใช้บริการและบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ดูแลต้อนรับลูกค้า และ
คอยแนะนำบริการต่างๆ ตอบข้อถามและให้ความเข้าใจในเรื่องของบริการในสปา ทำ job order ส่งให้ Spa Therapist เพื่อนำไปเบิกอุปกรณ์ที่ใช้ทำทรีตเมนต์ จาก Controller ในแต่ละครั้ง พาลูกค้าไปส่งที่ห้องทำทรีตเม้นต์ อีกทั้งยังต้องคอยดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ Front Desk (ส่วนต้อนรับ) โดยรวมให้สะอาดเรียบร้อย และสวยงาม

7. การตลาดและประซาสัมพันธ์ (Marketing & PubliC Relation):
ทำหน้าที่วางแผนงานการตลาดและดำเนินกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เช่น กำหนดราคาขาย วางแผนและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ดูแลเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการประสานงานกับสื่อมวลชน

8. บัญชีและการเงิน (Finance and Accounting ):
ทำหน้าที่วางแผนการเงิน ทำงบประมาณต่างๆ ดูแลบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงิน

9. พนักงานการเงิน (Cahier): ทำหน้าที่เก็บค่าบริการ และอื่นๆ

10. แม่บ้าน (Attendance): ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสปา